วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

หญ้าหวานใช่แทนน้ำตาลไม่ทำให้อ้วน


หญ้าหวาน คือสมุนไพรชนิดหนึ่ง เป็นพืชล้มลุกมีลักษณะคล้ายต้นใบกะเพรา ใบสมุนไพรหญ้าหวานมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระเฉกเช่นเดียวกับในใบชาเขียวแต่มีมากกว่าคือรสหวานจัด ตัวใบจะให้รสหวานกว่าน้ำตาล 15-20 เท่า แต่เมื่อนำใบมาสกัดจะให้ความหวานสูงถึง 250 เท่าของน้ำตาลทรายแต่ไม่ให้พลังงาน จึงเป็นที่นิยมในหลายๆประเทศ โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีที่ผู้คนนิยมบริโภคแต่อาหารที่ดีต่อสุขภาพ จึงมีการนำสารสกัดจากสมุนไพรหญ้าหวานมาใช้แทนน้ำตาลหรือทดแทนน้ำตาลบางส่วนมากว่า 35 ปีแล้วทั้งในอาหารและเครื่องดื่มได้แก่ น้ำชาเขียว น้ำอัดลม ขนมเบเกอรี่ ไอศกรีม แยม เยลลี่ ซอสปรุงรส ลูกอม หมากฝรั่ง และอื่นๆ

แต่น่าเสียดายที่คนไทยไร้โอกาสกับหญ้าหวาน. ไม่มีหน่วยงานใดมาส่งเสริมทั้งๆ ที่ อเมริกา ญี่ปุ่นก็ใช้หญ้าหวานให้ความหวาน แต่คนไทยกลับใช้น้ำตาลเทียมหรือสารหวานสังเคราะห์ยี่ห้อดังๆ ทั้งที่ต่างประเทศเค้าก็เลิกใช้กันแล้ว. แม้ไม่มีงานวิจัยสนับสนุนในเรื่องหญ้าหวานมาก. แต่ความหวานจากธรรมชาติก็น่าจะปลอดภัยกว่าความหวานทางเคมีสังเคราะห์ ในหญ้าหวานมีสารกลัยโคซัยด์(glycoside) 88 ชนิด สารสำคัญคือ Rcbaudiosides A,B,C,D,E ; Dulcoside A และ Steviosides สาร Steviosides ซึ่งเป็นสารให้ความหวานคล้ายคลึงกับน้ำตาลทรายมาก โดยปริมาณสูงสุดในหญ้าหวานทั่วไปและเป็นสารที่มีรสหวานจัดจะมีความหวาน ประมาณ 300 เท่าของน้ำตาลซูโครส

ประเทศไทย ได้มีการนำหญ้าหวานมาทดลองปลูกในเมืองไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2521 โชคดีที่ต้นหญ้าหวานเจริญงอกงามดีในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศซึ่งมีความเหมาะสมมาก อากาศเย็น การปลูกหญ้าหวานให้ผลผลิตสารรสหวานสตีวิโอไซต์ได้ดีมาก ขึงเผยแพร่การปลูกกันมากที่ภาคเหนือเท่านั้น ใบของมันนำมาตากแห้งและชงทำเป็นชาหรือเครื่องดื่มสมุนไพรและอาจนำมาผสมเครื่องดื่มรสหวานทั่วไป. คนไทยกินหญ้าหวาน 2 แบบ แบบสมุนไพรที่มีการนำใบหญ้าหวานผสมกับสมุนไพรอื่นๆ เพื่อเพิ่มรสหวานในชาสมุนไพรหรือยาชงสมุนไพร และแทนน้ำตาลในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน

หญ้าหวานและสารสกัดสตีวิโอไซด์ ไม่ให้พลังงานสะสมแก่ร่างกาย ไม่ทำให้อ้วนและไม่กลายเป็นสารไขมัน ไม่มีผลกระทบทางชีวภาพต่อหนูทดลอง. แม้จะให้สัตว์กินในปริมาณที่สูงมาก็ไม่มีความเป็นพิษทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรังต่อสัตว์ทดลอง ทางระบาดวิทยายังไม่เคยมีรายงานการป่วยหรือสุขภาพไม่สบายที่เกิดจากการบริโภคหญ้าหวานเป็นประจำแต่ประการใด ในทางตรงกันข้าม แพทย์ผู้ใช้หลายคนยอมรับว่าหญ้าหวานได้ช่วยบรรเทาความเจ็บป่วยแก่ผู้ที่ต้องงดหรือหลีกเลี่ยงการบริโภคน้ำตาลซึ่งแสลงต่อโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิต โรคไขมันเกินในเส้นเลือดได้ เพราะการรับสารความหวานจากหญ้าหวานในรูปแบบของชา หรือผสมเครื่องดื่มทดแทนการบริโภคน้ำตาลทราย จะไม่ส่งผลต่อการเกิดสภาวะความรุนแรงของโรคเบาหวาน












ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
http://www.yawangreensweet.com/customize_0_27761_TH.html3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

จะกินไข่ให้ฉลาด...ต้องฉลาดกินไข่

คนไทย บริโภค ไข่ ต่อคนต่อปีต่อปีน้อยกว่าคนมาเลเซียและสิงคโปร์เพื่อนบ้าน นอกจากเพราะรายได้ที่น้อยกว่า ส่วนหนึ่งมาจากข้อมูลที่ทำให้เกิดความเ...