วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2561

เปรี้ยว ปรี๊!!!! กระเจี๊ยบแดง


กระเจี๊ยบแดงเป็น ไม้ล้มลุก มีความสูง 1-2 เมตร เป็นพืชอายุค่อยข้างสั้น ลำต้นมีสีม่วงแดง ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว ขอบใบหยักเว้าลึก ออกเรียงสลับกัน ดอกกระเจี๊ยบ มีแดง กลีบเลี้ยงจะห่อหุ้มเมล็ดข้างในเอาไว้ ดอกกระเจี๊ยบมีรสชาติ เปรี้ยว

คุณค่าทางอาหารและโภชนาการ

ในกระเจี๊ยบแดงนั้น มีส่วนประกอบของสารเคมี หลายชนิด เช่น Hibiscetin,Protocatechuic acid, Hibicin, organic acid, malvin, gossypetinนอกจากนี้ยังมีวิตามินเอ ที่ช่วยบำรุงสายตา วิตามินบีและสาร Anthocyanin ในกระเจี๊ยบยังสามารถเป็นส่วนผสมในการแต่งสีสรรอาหารโดยไม่เป็นอัตรายต่อผู้บริโภค

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรและการรักษา

กลีบเลี้ยงของดอก
กลีบเลี้ยงของดอกกระเจี๊ยบหากน้ำไปต้มกับน้ำจะมีสรรพคุณ ในการขับปัสสาวะ เพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ ช่วยย่อยอาหาร ช่วยรักษาและลดระดับไขมันในเส้นเลือด ลดความดันโลหิต ลดความเหนียวข้นของเลือด ช่วยให้เล้นเลือดแข็งแรง

วิธีการปรุงเป็นยา
เริ่มจากการตัดเอาเฉพาะกลีบเลี้ยงของกระเจี๊ยบแดง แล้วนำไปตากให้แห้งสนิท บดให้ละเอียด ชงกับน้ำเดือด โดยอัตราส่วน กระเจี๊ยบผง 1 ช้อนชา ชงกับน้ำเดือด 1 แก้ว จะได้น้ำสีแดงสด รับประทานวันละ สาม ครั้งติดต่อกันหรือจนกว่าอาการจะทุเลาลง

ใบ ใบของกระเจี๊ยบแดง มีรสชาติเปรี้ยว มีสรพคุณ ในการแก้โรคพญาธิตัวจิ๊ด ขับเสมหะ แก้ไอ และขับเมือกในลำคอสู่ลำไส้ใหญ่

ดอก มีสรรพคุณ ในกาารบรรเทาโรคนิ่ว โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ และละลายไขมันในเส้นเลือด ผล มีสรรพคุณ รักษาแผลในกระเพรา แก้กระหาย

เมล็ด มีสรรพคุณ ในทางการบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้อาการอ่อนเพลีย และยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการปรุงยาตำรับอื่นๆ

วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2561

“หอมหัวใหญ่” ยาครอบจักรวาลประจำบ้าน


หอมหัวใหญ่” หรือที่เรียกกันติดปากว่า “หอมใหญ่” สมุนไพรไทยของเรานั้นมีอยู่มากมายเลยค่ะ และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งพืชผักสมุนไพรที่หลายๆคนมองข้ามด้วยความไม่รู้คุณค่าอันมหาศาล แถมยังเขี่ยทิ้งจากจานเสมอๆ แถมคนรุ่นใหม่มักไม่รู้และไม่เห็นถึงคุณค่าของมัน ซึ่งมีการปลูกมาตั้งแต่ยุคโบราณในอียิปต์ กรีก โรมัน และจีน ปัจจุบันหอมใหญ่จัดเป็นผักสำคัญลำดับที่ 6 ของโลก

หลายๆคนอาจไม่รู้ว่าหอมใหญ่นั้นไม่ใช่แค่ผักธรรมดาที่ใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติ และไม่ได้ใหญ่แต่ชื่อและขนาด แต่สรรพคุณยังยิ่งใหญ่ด้วย เพราะช่วยป้องกันและรักษาโรคสำคัญๆ ได้หลายโรค ทั้งแพทย์และนักวิชาการได้ทำการวิเคราะห์หาสาระสำคัญในหัวหอม พบว่าอุดมไปด้วยแร่ธาตุ และสารประกอบที่จำเป็นต่อร่างกายกว่า 300 ชนิด อาทิ แคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม กำมะถัน ซีลีเนียม เบตาแคโรทีน กรดโฟลิก เควอซิทินฟลาโวนอยด์ ไกลโคไซด์ เพคติน กลูโคคินิน ฯลฯ

โดยแคลเซียมดังกล่าวนั้นจะสังเคราะห์เอนไซม์ที่ ที – เซลล์ (T-cells) มาใช้ในการต่อสู้กับสิ่งมีชีวิตแปลกปลอมและช่วยเม็ดเลือดขาวในการทำลายและย่อยสลายไวรัส ธาตุแมกนีเซียมจะช่วยทำลายเซลล์มะเร็งและกำจัดไวรัส ธาตุกำมะถันช่วยให้เอนไซม์ตับทำงานขับสารพิษได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง ส่วนสารเควอซิทินเป็น สารต้านอนุมูลอิสระ ที่ให้ฤทธิ์ในการป้องกันการอักเสบ ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัส ป้องกันอาการแพ้ ขับสารพิษ ป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดและปกป้องหลอดเลือดเลี้ยงสมองอุดตัน และลดการเป็นพิษต่อเซลล์ไขมันในเลือดชนิดเลว (LDL)

และนอกจากนี้ หอมใหญ่ยังมีสารไซโคลอัลลิอินที่สามารถละลายลิ่มเลือด ช่วยในการลดโคเลสเตอรอลและความดันเลือด รวมทั้งสารฟลาโวนอยด์ ไกลโคไซด์ ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยป้องกันไขมันไม่ให้เกาะตามผนังเส้นเลือด เพราะหากเกาะมากๆ จะเกิดภาวะเส้นโลหิตอุดตัน ทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้ และสารอัลลิลโพรพิลไดซัลไฟด์ ที่ช่วยในการลดระดับน้ำตาลในเลือด รวมถึงสารอัลลิลิกไดซัลไฟด์ ที่ช่วยขับปัสสาวะ ขับเสมหะ

จากผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยคอร์เนล สหรัฐอเมริกา พบว่า หอมหัวใหญ่ช่วยป้องกันโรคมะเร็งตับและลำไส้ได้ เพราะในหัวหอมจะมีสารแอนตี้ออกซิแดนต์สูงมาก จึงช่วยป้องกันและยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้


ซึ่งดร.วิคเตอร์ เกอร์วิช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจในสหรัฐอเมริกา บอกไว้ว่า หัวหอมสดถือเป็นยาชั้นเลิศในการเพิ่มไขมันในเลือดชนิดดี (HDL) แค่หอมหัวใหญ่ครึ่งหัวจะช่วยเพิ่ม HDL ได้ถึงร้อยละ 30 ในคนที่เป็นโรคหัวใจ หรือมีปัญหาโคเลสเตอรอล

ส่วนผลการวิจัยในวารสารวิชาการชื่อดัง “Nature” ระบุ ว่า หอมหัวใหญ่ป้องกันกระดูกพรุนได้ผลดีกว่าแคลซิโทนิน ซึ่งเป็นยารักษาโรคกระดูกพรุนโดยเฉพาะ โดยสรรพคุณของหอมใหญ่จากการทดลองในหนู ผลของการทดลองเกิดได้ภายใน 12 ชม. เช่นนั้นนักวิจัยจึงลงความเห็นว่า สำหรับคนเราอาจต้องกินหอมใหญ่วันละ 200-300 กรัม จึงจะได้ผลในการป้องกัน กระดูกพรุน

ซึ่งกล่าวโดยสรุปแล้วรับประทานหอมใหญ่นั้นจะช่วยทำให้เจริญอาหาร แก้หวัด คัดจมูก แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องร่วง ธาตุไม่ปกติ ช่วยขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด แก้ความดันโลหิตสูง ป้องกันโรคหัวใจ มะเร็งลำไส้ มะเร็งตับ ขับพยาธิ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ลดโคเลสเตอรอล ในเลือด แก้ภูมิแพ้หอบหืด เบาหวาน ฆ่าเชื้อโรค ช่วยขจัดสารตะกั่วและโลหะหนักที่ปนเปื้อนมากับอาหารแล้วสะสมอยู่ในร่างกาย ฯลฯ และยังช่วยให้ผู้ที่รับประทานเป็นประจำ มีความจำดีขึ้นด้วย แต่ต้องรับประทานแบบสดๆทุกวัน (ทานร่วมกับอาหารอื่นๆ ก็ได้) แค่วันละครึ่งถึง 1 หัว อย่างน้อย 2 เดือนจึงจะเห็นผล โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคเบาหวานและโคเลสเตอรอลสูง

แต่อย่ารับประทานในขณะที่ท้องว่างเด็ดขาดค่ะ เพราะอาจจะทำให้เยื่อบุกระเพาะระคายเคืองหรืออักเสบได้ และหากผู้ที่มีกลิ่นตัวอยู่แล้ว หากรับประทานมากเกินไป ก็จะส่งผลให้เกิดกลิ่นตัวแรงยิ่งขึ้น

ไม่เพียงแต่การรับประทานหอมใหญ่แล้วมีประโยชน์สูง แต่สารในหอมใหญ่ยังสามารถสกัดมาผสมในเครื่องสำอางได้ เช่น แชมพูสระผม ยาบำรุงเส้นผม เพราะมีสาร เช่น ไกลโคไซด์ เพคติน กลูโคคินิน ที่ช่วยในการขจัดรังแค ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราต่างๆ และน้ำคั้นจากหัวหอมยังนำมาใช้เป็นยาทาภายนอก เพื่อลดอาการอักเสบและฆ่าเชื้อแบคทีเรีย แก้พิษแมลงกัดต่อย อาการปวดบวมตามข้อ รักษาผิวหนังที่ถูกน้ำร้อนลวกได้อีกด้วย

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2561

ดีปลี...ขับลมได้ แก้ไอดี


ชื่อทั่วไปเรียกว่า ดีปลี แต่ก็มีชื่ออื่นด้วย คือ จาวาลองเปปเปอร์ (Java long pepper) และทางภาคใต้ของเราเรียกว่า ดีปลีเชือก

ลักษณะทั่วไป
• เป็นไม้เถารากฝอยออกบริเวณข้อเพื่อใช้ยึดเกาะ ใบเดี่ยว รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 7-10 เซนติเมตร สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก ช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยกันแน่น แยกเพศ ผล เป็นผลสด มีสีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง มีรสชาติเผ็ดร้อน

ลักษณะของสมุนไพร/เครื่องยา
ผลที่มีลักษณะคล้ายดอกยาวประมาณ 2 นิ้ว มีสีน้ำตาล หรือเป็นรากที่ติดตามข้อของเถาที่พันเลื้อยมีสีน้ำตาล

ส่วนที่ใช้และสรรพคุณ
• ผลที่แก่จัดยังไม่สุก ใช้ตากแห้งเป็นยาขับลม บำรุงธาตุ แก้ท้องเสีย ขับรถหลังคลอด โดยใช้ผล 1 กำมือ หรือประมาณ 10-15 ผล ต้มเพื่อเอาน้ำดื่ม
• นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาแก้ไอ โดยเอาผลแห้งครึ่งผล นำมาฝนกับมะนาวแทรกเกลือใช้กวาดคอ หรือจิบบ่อย ๆ

สมุนไพรพื้นบ้านถ้ารู้จักจดจำ ก็มียาดี ๆ ให้เราเลือกหยิบมาใช้ได้ประโยชน์แบบพึ่งพาตนเองได้สบาย แถมไม่ต้องระวังผลข้างเคียงจากยาแผนปัจจุบันให้เหนื่อยใจเสียอีกด้วย

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2561

ประโยชน์ของ “ปลาหมึก” คุณค่าจากทะเลที่ไม่ควรมองข้าม


"ปลาหมึก" (Squid) ที่หลายคนรู้จักกันดีถือเป็นอาหารทะเลอีกหนึ่งชนิดที่นิยมนำมาประกอบอาหาร ทั้งอาหารไทยและอาหารนานาชาติ จุดเด่นของปลาหมึกคือสามารถนำมาประยุกต์รับประทานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นผัด ทอด ต้ม หรือนำมาแปรรูปทั้งแบบแห้งและแบบดอง ในบางประเทศอย่างเกาหลีและญี่ปุ่นก็ยังนิยมนำปลาหมึกมารับประทานกันแบบสดๆ แกล้มกับเครื่องดื่มโซจู (Soju) หรือสาเกในงานสังสรรค์อีกด้วย


ประโยชน์ของปลาหมึก อุดมด้วยโอเมก้า 3
อย่างไรก็ตาม หลายคนก็ยังมีความเชื่อว่าปลาหมึกเป็นอาหารที่ยิ่งรับประทานยิ่งอ้วนเพราะมีคอเลสเตอรอลสูง ก่อนอื่นต้องขออธิบายก่อนว่าในปลาหมึกมีคอเลสเตอรอลสูงจริงแต่ก็มีปริมาณไขมันกลุ่มโอเมก้า3 อยู่จำนวนมากเช่นกัน โดยโอเมกา 3 ในปลาหมึกจะทำหน้าที่ยับยั้งปริมาณคอเลตเตอรอลให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้ จึงอาจกล่าวได้ว่าคอลเลตเตอรอลในปลาหมึกไม่มีผลเสียใดๆกับร่างกายหากรับประทานให้เหมาะสมเปรียบเทียบกับเนื้อหมู หรือเนื้อวัวด้วยแล้ว จะพบว่าปลาหมึกทำให้เป็นโรคหัวใจหรือคอลเลตเตอรอลสูงได้น้อยกว่าเพราะเนื้อหมูและวัวนั้นไม่มีโอเมก้า 3 นั่นเอง

จะกินไข่ให้ฉลาด...ต้องฉลาดกินไข่

คนไทย บริโภค ไข่ ต่อคนต่อปีต่อปีน้อยกว่าคนมาเลเซียและสิงคโปร์เพื่อนบ้าน นอกจากเพราะรายได้ที่น้อยกว่า ส่วนหนึ่งมาจากข้อมูลที่ทำให้เกิดความเ...