วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2561
เปรี้ยว ปรี๊!!!! กระเจี๊ยบแดง
กระเจี๊ยบแดงเป็น ไม้ล้มลุก มีความสูง 1-2 เมตร เป็นพืชอายุค่อยข้างสั้น ลำต้นมีสีม่วงแดง ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว ขอบใบหยักเว้าลึก ออกเรียงสลับกัน ดอกกระเจี๊ยบ มีแดง กลีบเลี้ยงจะห่อหุ้มเมล็ดข้างในเอาไว้ ดอกกระเจี๊ยบมีรสชาติ เปรี้ยว
คุณค่าทางอาหารและโภชนาการ
ในกระเจี๊ยบแดงนั้น มีส่วนประกอบของสารเคมี หลายชนิด เช่น Hibiscetin,Protocatechuic acid, Hibicin, organic acid, malvin, gossypetinนอกจากนี้ยังมีวิตามินเอ ที่ช่วยบำรุงสายตา วิตามินบีและสาร Anthocyanin ในกระเจี๊ยบยังสามารถเป็นส่วนผสมในการแต่งสีสรรอาหารโดยไม่เป็นอัตรายต่อผู้บริโภค
สรรพคุณทางด้านสมุนไพรและการรักษา
กลีบเลี้ยงของดอก
กลีบเลี้ยงของดอกกระเจี๊ยบหากน้ำไปต้มกับน้ำจะมีสรรพคุณ ในการขับปัสสาวะ เพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ ช่วยย่อยอาหาร ช่วยรักษาและลดระดับไขมันในเส้นเลือด ลดความดันโลหิต ลดความเหนียวข้นของเลือด ช่วยให้เล้นเลือดแข็งแรง
วิธีการปรุงเป็นยา
เริ่มจากการตัดเอาเฉพาะกลีบเลี้ยงของกระเจี๊ยบแดง แล้วนำไปตากให้แห้งสนิท บดให้ละเอียด ชงกับน้ำเดือด โดยอัตราส่วน กระเจี๊ยบผง 1 ช้อนชา ชงกับน้ำเดือด 1 แก้ว จะได้น้ำสีแดงสด รับประทานวันละ สาม ครั้งติดต่อกันหรือจนกว่าอาการจะทุเลาลง
ใบ ใบของกระเจี๊ยบแดง มีรสชาติเปรี้ยว มีสรพคุณ ในการแก้โรคพญาธิตัวจิ๊ด ขับเสมหะ แก้ไอ และขับเมือกในลำคอสู่ลำไส้ใหญ่
ดอก มีสรรพคุณ ในกาารบรรเทาโรคนิ่ว โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ และละลายไขมันในเส้นเลือด ผล มีสรรพคุณ รักษาแผลในกระเพรา แก้กระหาย
เมล็ด มีสรรพคุณ ในทางการบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้อาการอ่อนเพลีย และยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการปรุงยาตำรับอื่นๆ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
จะกินไข่ให้ฉลาด...ต้องฉลาดกินไข่
คนไทย บริโภค ไข่ ต่อคนต่อปีต่อปีน้อยกว่าคนมาเลเซียและสิงคโปร์เพื่อนบ้าน นอกจากเพราะรายได้ที่น้อยกว่า ส่วนหนึ่งมาจากข้อมูลที่ทำให้เกิดความเ...
-
ยังมีอาหารอีกหลายอย่างที่ซ่อนประโยชน์เอาไว้ในตัวเองโดยที่เราก็คาดไม่ถึง อย่าง ปูนิ่มผัดผงกะหรี่ นี่ก็เช่นกันค่ะ ที่นอกจากจะเป็น อาหารจานโปร...
-
ผักสวนครัว มีหลากหลายชนิดออกไป เช่น ผักบุ้ง เป็นหนึ่งในผักที่คนนิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร ซึ่งในประเทศไทยมีผักบุ้งที่เรารู้จักและนำมารับ...
-
คนไทย บริโภค ไข่ ต่อคนต่อปีต่อปีน้อยกว่าคนมาเลเซียและสิงคโปร์เพื่อนบ้าน นอกจากเพราะรายได้ที่น้อยกว่า ส่วนหนึ่งมาจากข้อมูลที่ทำให้เกิดความเ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น