วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

พริกไทยขาว พริกไทยดำ ความเหมือนที่แตกต่าง


พริกไทย เป็นไม้เลื้อย มีชื่อสามัญว่า Black Piper มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Piper nigrum Linn วงศ์ Piperaceae ผลอ่อนของพริกไทยมีสีเขียว พอเริ่มแก่ก็จะกลายเป็นสีแดงและดำในในที่สุด พริกไทยดำ ( Black peper ) และ พริกไทยขาว( White peper ) ซึ่งทั้งสองอย่าง ได้มาจากพืชชนิดเดียวกันแต่วิธีการเก็บต่างกัน นั่นคือ


พริกไทยดำ ได้จากการเก็บผลพริกไทยที่เป็นผลแก่เต็มที่แต่ยังไม่สุก เมื่อเก็บแล้วนำไปตากแห้งประมาณ 4 – 5 วัน ผิวก็จะเหี่ยวย่น เป็นสีดำข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของ พริกไทยดำจะมีน้ำมันหอมระเหยมากประมาณร้อยละ 2-4 และมีสารแอลคาลอยด์เป็นสารสำคัญ เช่น Piperine ซึ่งเป็นตัวทำให้มีรสเผ็ด นอกจากนี้ยังมี Piperidine, Piperitine Peperyline, Piperolein A และ B


ส่วนพริกไทยขาว ( White pepper ) นั้นได้จากการเก็บผลพริกไทยที่แก่จัด และผลเริ่มสุกเป็นสีแดง และกลายเป็นสีดำ จากนั้นนำไปแช่น้ำ เพื่อลอกเอาเปลือกชั้นนอกออกไป เหลือแต่เมล็ดข้างในโดยจะแช่ในน้ำไหลหรือน้ำนิ่งก็ได้ แต่พริกไทยที่แช่น้ำไหล จะมีสีขาวกว่าพริกไทย ที่แช่ในน้ำนิ่ง โดยจะใช้เวลาในการแช่ประมาณ 7-14 วัน หลังจากนั้น นำพริกไทยที่แช่น้ำมานวด เพื่อลอกเปลือกออก ล้างด้วยน้ำสะอาด แล้วนำไปตากแดดทันที โดยใช้เวลาในการตากแดดประมาณ 4-5 วัน ก็จะแห้งสนิท


การทดสอบความแห้งทำโดยใช้ฟันขบเมล็ดพริกไทย ถ้าแตกออกเป็นชิ้นเล็ก ชิ้นน้อย แสดงว่าแห้งสนิทดี แต่ถ้าแตกออกเป็นสองซีก แสดงว่ายังไม่แห้งสนิท หรือทดสอบโดยใช้มือกอบเมล็ดพริกไทย แล้วค่อยๆกางนิ้วออก ให้เมล็ดพริกไทยลอดระหว่างนิ้วถ้าเมล็ดลอดออกได้ง่าย ไม่ฝืด และเมล็ดไม่เกาะติดกัน แสดงว่าเมล็ดแห้งสนิท


ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของพริกไทยขาว ( พริกไทยล่อน ) จะมีน้ำมันหอมระเหยต่ำกว่าพริกไทยดำ ดังนั้นตัวที่ทำให้ช่วยขับลมก็คือ พวกน้ำมันหอมระเหยนั่นเองพริกไทยขาว จะมีราคาแพงกว่า พริกไทยดำ เนื่องจากมีขั้นตอนในการผลิต และค่าใช้จ่ายสูงกว่าการผลิตพริกไทยดำ และประชาชนยังนิยมบริโภคพริกไทยขาว มากกว่าพริกไทยดำแต่ในแง่สรรพคุณ ทางยาสมุนไพรนั้น พริกไทยดำจะมีตัวยามากกว่า พริกไทยขาว

วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

เอ๊ะ!!ปลาบำรุงสมองของเราได้อย่างไรนะ


โปรตีนมีดีที่ย่อยง่าย โดยทั่วไปในเนื้อปลามีโปรตีนประมาณร้อยละ 17-23 ซึ่งเป็นโปรตีนที่ย่อยง่ายกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ ทำให้ระบบการย่อยอาหารของเราไม่ต้องทำงานหนัก อีกทั้งโปรตีนยังมีประโยชน์ ช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อหรือส่วนต่างๆ ที่สึกหรอ และเสริมสร้างร่างกายให้เจริญเติบโตตามวัยอันควร นอกจากนี้ปลายังมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายหลายชนิด โดยเฉพาะไลซีนและทรีโอนิน ซึ่งมีผลต่อพัฒนาการสมองและการเจริญเติบโตในวัยเด็ก ทั้งยังเป็นส่วนประกอบของสารสร้างภูมิคุ้มกันโรค ทำให้นอนหลับสนิท สมองทำงานได้ดี ไม่แก่เกินวัย และลดความหิวชนิดรับประทานไม่หยุดได้ โดยถ้าคิดเป็นหน่วยร้อยละ จะมีสูงถึงร้อยละ 92 เมื่อเทียบกับน้ำนมวัวซึ่งมีร้อยละ 91 เนื้อวัวมีร้อยละ 80 และถั่วเหลืองมีร้อยละ 63


ไขมันต่ำและเป็นไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย ปลายังมีไขมันต่ำ มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวหรือที่เรียกว่า โอเมก้า3 ซึ่งเป็นไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่เราไม่สามารถสร้างเองได้ นอกจากกรดไขมันโอเมก้า3 ที่มีอยู่ในปลาช่วยป้องกันการสะสมตัวของไขมันอิ่มตัวหรือคลอเลสเตอรอล อันเป็นสาเหตุ ให้เส้นเลือดอุดตัน ซึ่งนำไปสู่โรคหัวใจและเส้นเลือดในสมองแตกได้ กรดไขมันโอเมก้า3 ยังมีประโยชน์ในด้านอื่นๆ อีกมากมาย เช่น

👉บำรุงสมอง ผลวิจัยจากสหรัฐอเมริกาพบว่า กรดไขมันดีเอชเอ (DHA) ในโอเมก้า3 มีส่วนสำคัญในการพัฒนาสมอง โดยเฉพาะในส่วนของความจำและการเรียนรู้
👉ช่วยลดความเครียด Archives of General Psychiatry ได้รายงานการวิจัย เกี่ยวกับน้ำมันปลา ว่าสามารถลดความเครียดในผู้ป่วยโรคประสาทที่มักจะอาละวาด ทำให้มีอารมณ์ที่เยือกเย็นลงได้
👉บรรเทาอาการซึมเศร้า การศึกษาของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดพบว่า การขาดโอเมก้า3 ซึ่งเป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อสมอง อาจเป็นสาเหตุทำให้คนมีอาการซึมเศร้า สมาธิสั้น และขาดความสามารถในการอ่านหนังสือได้
👉บรรเทาอาการของโรคไขข้ออักเสบ จากการวิจัยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบว่า น้ำมันปลาช่วยบรรเทาอาการของผู้ป่วยโรคไขข้ออักเสบ จนสามารถลดการใช้ยาบางส่วนลงได้
👉ลดการอักเสบของโรคผิวหนัง การศึกษาวิจัยระบุว่า การกินปลาที่มีไขมันมากจะช่วยบรรเทาอาการของโรคผิวหนัง อย่างสะเก็ดเงิน(เรื้อนกวาง) เพราะปลามีวิตามินดีจากกรดไขมันโอเมก้า 3 ในปริมาณที่มากนั่นเอง
👉ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ จากการวิจัยในปี 1998 พบว่า การบริโภคปลาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง จะช่วยลดความดันโลหิต ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคหัวใจลงได้ นอกจากนั้น จากการวิจัยของมหาวิทยาลัยโอเรกอนยังระบุว่า ในไขมันปลามีกรดไขมันอีพีเอ (EPA ) ซึ่งเป็นกรดไขมันในกลุ่มโอเมก้า3 ยังช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดและลดระดับไตรกลีเซอไรด์ลงได้ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหลอดเลือดหัวใจด้วยเช่นกัน


ถึงแม้ปลาทุกชนิดจะจัดว่ามีค่าไขมันและพลังงานต่ำกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่นแล้ว อย่างไรก็ตาม ชนิดของปลายังมีผลต่อปริมาณไขมันของปลาที่มีอยู่ในเนื้อปลาสด ซึ่งผู้บริโภคควรเลือกทานตามความ เหมาะสม สรรพคุณของปลาเยอะขนาดนี้ มาทานปลากันเถอะค่ะ สำหรับวันนี้เรามีเมนูปลามาฝากกันค่ะ นั่นก็คือ ลาบหมกปลากราย อาหารรสเลิศของคนอีสาน ที่นำเอาเนื้อปลากรายมาลาบ ห่อด้วยใบตอง แล้วนำมานึ่ง มีที่รสชาติอร่อย กลมกล่อม หอมใบตองที่ห่อและเครื่องลาบที่เข้มข้นจัดจ้าน เป็นเมนูที่มีประโยชน์แถมไม่อ้วนด้วยนะคะ ใครที่สนใจเชิญได้เลยค่ะ ที่ ร้านThe Home

จะกินไข่ให้ฉลาด...ต้องฉลาดกินไข่

คนไทย บริโภค ไข่ ต่อคนต่อปีต่อปีน้อยกว่าคนมาเลเซียและสิงคโปร์เพื่อนบ้าน นอกจากเพราะรายได้ที่น้อยกว่า ส่วนหนึ่งมาจากข้อมูลที่ทำให้เกิดความเ...